เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Week6

เป้าหมาย : นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน................................................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












6
โจทย์
อัตราส่วน

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
กระบวนการ : อัตราส่วน
- สมมติสถานการณ์ (การเล่นบาสเกตบอล 3 เกม) ดังนี้
"พวกเราเล่นบาส ตารางด้านล่างนี้แสดงบันทึกการโยนลูกบาสเกตบอลเข้าห่วงของพี่อาม ในการเล่นบาสเกตบอล 3 เกม"

คำถาม "เกมใดที่พี่อามเล่นได้ดี"
*เปรียบเทียบผลการโยนบาสเกตบอลและสนทนากับเพื่อนๆ
เกี่ยวกับแนวคิดของตนเอง

ตารางแสดงบันทึกจำนวนการโยนบาส

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนบันทึกการโยนบาสในวันที่ 10ก.พ และ 15ก.พในรูปของเศษส่วน โดยตัวส่วนเป็นจำนวนครั้งในการโยนและตัวเศษเป็นจำนวนครั้งที่โยนเข้าห่วง จากนั้นเปรียบเทียบเศษส่วนนั้น"
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดคิด นำเสนอวิธีคิด

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนแสดงบันทึกการโยนบาส
ในวันที่ 13ก.พ ให้อยู่ในรูปจำนวน"

-นักเรียนร่วมแสดงความคิดคิด นำเสนอวิธีคิด

ครูช่วยขมวดความเข้าใจ ยกตัวอย่าง "ถ้าเราสร้างจำนวนครั้งที่โยน
ทั้งหมดแล้วจำนวนครั้งที่โยนเข้าห่วงจะเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนทั้งหมด"
ตารางต่อไปนี้แสดงบันทึกการโยนลูกบาสของพี่มิสซ์ ให้นักเรียนแสดง
การบันทึกในรูปของจำนวน


(บันทึกการโยนเป็นจำนวนระหว่าง 0 และ 1)

นักเรียนจำนวนหนึ่งได้ตรวจสอบจำนวนผู้โดยสารบนเครื่องบินในหนึ่งวัน เครื่องบินในหนึ่งวัน เครื่องบินลำใดมีผู้โดยสารแออัดมากกว่ากัน

*ระดับความแออัดแสดงในรูปของจำนวน ที่เป็นการเปรียบเทียบจำนวนผู้โดยสาร
กับจำนวนที่นั่ง เป็นการทำจำนวนที่นั่งให้เป็น 1

** พาเด็ก ไปให้ถึง ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง

   
ระดับความแออัดของเครื่องบินลำเล็ก คือ 117/130 =0.9
ระดับความแออัด 0.9 หมายความว่า จำนวนของผู้โดยสารคือ 0.9 คน
เมื่อเทียบกับที่นั่งทั้งหมดเป็น 1

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(1) "ให้นักเรียนแสดงความหนาแน่น
ของเครื่องบินใหญ่ โดยระบายสีลงบนกราฟด้านล่าง"

-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ
*ครูให้โจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น

--อัตราส่วนของปริมาณ 2 ปริมาณ--
"เราสามารถอธิบายอัตราส่วนของปริมาณ 2 ปริมาณได้แม้ว่าปริมาณใด
ปริมาณหนึ่งไม่สามาร"
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(2) "ในห้องเรียนของพี่แตงโม มีเด็กผู้ชาย 16 คน และเด็กผู้หญิง 20 คน จงหาอัตราส่วนของจำนวนเด็กผู้ชายต่อเด็กผู้หญิง"

-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(3) "จากห้องเรียนของพี่แตงโม ในคำถาม(3)   จงหาอัตราส่วน จำนวนเด็กผู้หญิงต่อจำนวนเด็กผู้ชาย"

-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ
"อัตราส่วนจะเปลี่ยนแปลงถ้าเราเปลี่ยนปริมาณพื้นฐาน
ในบางกรณีอัตราส่วนมากกว่า 1"
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับอัตราส่วน
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด 
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและฟังก์ชันตัวชี้วัด ป.5/2 , ป.5/3
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
................................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ / ชิ้นงาน

กระบวนการคิดทางคณิตฯศาสตร์ หลายๆคนที่เคยส่งเสริมมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น เช่น พี่อาร์ม พี่โต้ง พี่สกาย และพี่ชมพู่ กลุ่มนี้จะอยู่กับครูประจำชั้นช่วงหลังเลิกเรียนเพื่อส่งเสริมทางด้านคณิตฯโดยช่วงนี้กำลังเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ ครูเตรียมใบงานที่ไม่ยากเกินไปมาให้พี่ๆ ลองฝึกทำและครูจะค่อยประกบอธิบายความเข้าใจให้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พี่ๆ มีความกระตือรือร้นอยากที่จะเรียนรู้

รูปร่างที่ต่างจากภาพ เหลี่ยม พี่ๆสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาหาพื้นที่ในแบบต่างๆ ด้วยการประยุกต์ความรู้ที่มีดำเนินการหาพื้นที่
   ช่วงทบทวนความเข้าใจและสืบค้นข้อมูลพื้นที่ต่างๆ จากแหล่งข้อมูล(ห้องสมุด) 

และหาโจทย์ฝึกการคิดมาร่วมกันแก้ปัญหา

พี่ๆได้ทำใบงานที่ต้องใช้ทักษะที่หลากหลายมาแก้โจทย์ปัญหา ในชุดโจทย์ที่ครูเตรียมมาให้พี่ๆ ฝึกทำโดยตลอด

1 ความคิดเห็น:

  1. กระบวนการคิดทางคณิตฯศาสตร์ หลายๆคนที่เคยส่งเสริมมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น เช่น พี่อาร์ม พี่โต้ง พี่สกาย และพี่ชมพู่ กลุ่มนี้จะอยู่กับครูประจำชั้นช่วงหลังเลิกเรียนเพื่อส่งเสริมทางด้านคณิตฯโดยช่วงนี้กำลังเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ ครูเตรียมใบงานที่ไม่ยากเกินไปมาให้พี่ๆ ลองฝึกทำและครูจะค่อยประกบอธิบายความเข้าใจให้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พี่ๆ มีความกระตือรือร้นอยากที่จะเรียนรู้

    …รูปร่างที่ต่างจากภาพ 4 เหลี่ยม พี่ๆสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาหาพื้นที่ในแบบต่างๆ ด้วยการประยุกต์ความรู้ที่มีดำเนินการหาพื้นที่
    ช่วงทบทวนความเข้าใจและสืบค้นข้อมูลพื้นที่ต่างๆ จากแหล่งข้อมูล(ห้องสมุด) และหาโจทย์ฝึกการคิดมาร่วมกันแก้ปัญหา

    พี่ๆได้ทำใบงานที่ต้องใช้ทักษะที่หลากหลายมาแก้โจทย์ปัญหา ในชุดโจทย์ที่ครูเตรียมมาให้พี่ๆ ฝึกทำโดยตลอด

    ตอบลบ