เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และคาดคะเนค่าใกล้เคียงได้ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome












2

15 -19ส.ค.59
โจทย์
พื้นที่
- ทบทวนพื้นที่
- การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

คำถาม
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับพื้นที่
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับพื้นที่
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับพื้นที่

- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
วันจันทร์
- ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้

กระบวนการ : ทบทวนพื้นที่
 ชง: ครูนำรูปร่างเรขาคณิต (ดังภาพ) มาให้นักเรียนสังเกต  เพื่อทบทวนความเข้าใจ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาพื้นที่ของรูปเหล่านี้ โดยวัดความยาวของด้าน
เชื่อม: นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอวิธีคิด

วันอังคาร
กระบวนการ : พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ชง: ครูนำรูปรูปสี่เหลี่ยม a, b, c มาให้นักเรียนสังเกต
คำถาม
*จงวัดความยาวของแต่ละด้านของรูปสี่เหลี่ยม a, b, c
*จงเปรียบเทียบรูปสี่เหลี่ยม a, b, c
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?”
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
เชื่อม:* สมมติวิธีคิดของนักเรียน 2 คน ดังนี้ (ครูใช้คำถาม / อำนวยกิจกรรม)
- ครูให้นักเรียนตรวจสอบความยาวที่จำเป็นต้องใช้ในการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน c หลังจากนั้นคำนวณหาพื้นที่
- ความยาวใดที่จำเป็นในการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม a, b, และ c
*ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง

วันพุธ
ชง: ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานต่อไปนี้ มีวิธีคิดอย่างไร
*ครูให้นักเรียนคิดโจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น
เชื่อม: ให้นักเรียนลองคิดหาหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปนี้โดยใช้ BC เป็นฐาน
- ให้นักเรียนอธิบายวิธีการคำนวณพื้นที่โดยพิจารณารูปด้านล่างนี้
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปนี้มีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร
- ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
ให้นักเรียนหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานต่อไปนี้ มีวิธีคิดอย่างไร
- นักเรียนร่วมนำเสนอวิธีคิด พร้อมเหตุผลในการคิดคำนวณ
ถ้าฐานและความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 2 รูปใดๆ มีความยาวเท่ากันแล้ว จะได้ว่าพื้นที่ของรูปทั้งสองเท่ากัน
ใช้: *โจทย์ท้าทายชวนคิด
หากเราต้องการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปหนึ่งที่มีพื้นที่ 48 ตร.ซม.
และมีความสูง
8 ซม. เราควรจะสร้างฐานยาวกี่ ซม.
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
ใช้: ครูให้นักเรียนทำใบงานการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
- นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจก่อนการเรียนรู้คณิต Q.2
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจและสามารถหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และคาดคะเนค่าใกล้
เคียงได้ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับพื้นที่ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับพื้นที่
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


....................................................





ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ /ชิ้นงาน


      เริ่มต้นการเรียนรู้แบบใหม่ของพี่ๆ ป.5 ในQuarterนี้ ด้วยหน่วยการเรียนรู้การหาพื้นที่(ด้วยวิธีการที่หลากหลาย) ซึ่งเป็นเนื้อหาเดิมที่พี่ๆ ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้วส่วนหนึ่งในระดับชั้น ป.4 ซึ่งช่วงนั้นพี่ๆ มีความเข้าใจในรายละเอียดการหาพื้นที่รอบๆ ตัวบ้าน แม้กระทั่งการหาขนาดรอยช่วงต่อของแผ่นกระเบื้องหลังคา


...มาQuarterนี้ครูผู้สอนจึงได้เพียงทบทวนบางส่วนให้พี่ๆ ป.5 จึงเรียนรู้ได้เร็ว แต่อีกหลายคนครูต้องเสริมความเข้าใจให้พี่ๆ อีกระดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องเข้าช่วยในบางกรณี เช่น พี่กาย พี่อาร์ม พี่น้ำฝน พี่บีม พี่กัณ และพี่สุเอก
_ ในส่วนเนื้อหาดังกล่าวครูเตรียมการสอนไว้หลายระดับ เพื่อให้พี่ๆเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้การหาพื้นที่ ระดับ ป.5 

1 ความคิดเห็น:

  1. เริ่มต้นการเรียนรู้แบบใหม่ของพี่ๆ ป.5 ในQuarterนี้ ด้วยหน่วยการเรียนรู้การหาพื้นที่(ด้วยวิธีการที่หลากหลาย) ซึ่งเป็นเนื้อหาเดิมที่พี่ๆ ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้วส่วนหนึ่งในระดับชั้น ป.4 ซึ่งช่วงนั้นพี่ๆ มีความเข้าใจในรายละเอียดการหาพื้นที่รอบๆ ตัวบ้าน แม้กระทั่งการหาขนาดรอยช่วงต่อของแผ่นกระเบื้องหลังคา

    ...มาQuarterนี้ครูผู้สอนจึงได้เพียงทบทวนบางส่วนให้พี่ๆ ป.5 จึงเรียนรู้ได้เร็ว แต่อีกหลายคนครูต้องเสริมความเข้าใจให้พี่ๆ อีกระดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องเข้าช่วยในบางกรณี เช่น พี่กาย พี่อาร์ม พี่น้ำฝน พี่บีม พี่กัณ และพี่สุเอก
    _ ในส่วนเนื้อหาดังกล่าวครูเตรียมการสอนไว้หลายระดับ เพื่อให้พี่ๆเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้การหาพื้นที่ ระดับ ป.5

    ตอบลบ