เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Week5

เป้าหมาย : นักเรียนเข้าใจและสามารถแสดงวิธีการหาพื้นที่ของรูปต่างๆ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่และ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome












5
โจทย์
พื้นที่
วิธีการหาพื้นที่ของรูปต่างๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่

คำถาม
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์ 108IQ , เกม 24
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้
กระบวนการ : วิธีการหาพื้นที่ของรูปต่างๆ
- ครูนำรูปรูปสี่เหลี่ยม(ดังภาพ) มาให้นักเรียนสังเกต
*แบ่งรูปให้เป็นรูปร่างที่สามารถคำนวณหาพื้นที่ได้
*วัดความยาวของด้านที่จำเป็นในการคำนวณหาพื้นที่  

- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ  แล้วครูช่วยขมวดความเข้าใจให้กับผู้เรียน

ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนวัดความยาวที่จำเป็นใช้และคำนวณหาพื้นที่ ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีวิธีคิดอย่างไร

- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิด

กระบวนการ : ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่
- ครูกำหนดรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปหนึ่งมาให้นักเรียนสังเกต แล้วใช้คำถามกระตุ้นคิด “มีรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานจำนวนหนึ่งมีรูปร่างเหมือนกัน โดยมีฐาน เซนติเมตร และความสูง เซนติเมตร เราจะสร้างสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ใหญ่ขึ้นโดยการต่อรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน” ดังแสดงด้านล่าง

- นักเรียนเขียนแนวคิดที่ใช้ในการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสีเหลี่ยมด้านขนาน

*จากนั้นหาส่วนประกอบ ส่วน ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับขนาดของพื้นที่และอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง

- ให้นักเรียนเติมตัวเลขลงในตาราง ด้านล่าง

ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “-นักเรียนคิดว่าพื้นที่จะเพิ่มขึ้นกี่เท่า เมื่อฐานยาวขึ้นเป็น เท่า และสามเท่า ตามลำดับ 
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิด

*ครูให้นักเรียนคิดโจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด 
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจและสามารถแสดงวิธีการหาพื้นที่ของรูปต่างๆ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่และ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน                           ตัวชี้วัด ป.5/2 , ป.5/3
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””


ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ / ชิ้นงาน


ผมพาพี่ๆป.5 คาดคะเนพื้นที่ของทางเดินรอบตึกประถมฯ ก่อนจะให้พี่ๆ ระดมความคิดหาวิธีวัดขนาดของพื้นที่โดยรอบตึกว่าจะวัดได้ขนาดเท่าไร? อาจใช้หน่วยไม่มาตรฐาน เช่น วา คืบ ศอก ฯลฯ



_ก่อนนำสู่เรื่องที่ให้พี่ๆ นำสิ่งที่ได้มาร่วมพูดคุยกัน และคุณครูช่วยขมวดความเข้าใจผ่าน Google Earth ให้พี่ๆเห็นแบบจำลองจากมุมสูง(ภาพถ่ายดาวเทียม)

 ...เรื่อง พื้นที่ป.5 เรียนมาบ้างในช่วงที่เรียนอยู่ชั้น ป.4 และผมสอบถามความเข้าใจผ่านตัวอย่างโจทย์หลายข้อ ทราบว่าพี่ๆ หลายคนมีความเข้าใจพื้นฐานการหาพื้นที่เป็นอย่างดี และอีกหลายคนต้องส่งเสริม
และกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ พี่ๆป.5 จะได้ทำภาระงานจากหนังสือ Super Math ในส่วนพี่ๆที่เรียนรู้เร็วจะได้ใบงาน(พิเศษ) นำกลับไปทำต่อที่บ้าน อีกกลุ่มที่เรียนรู้ช้าครูจะนัดส่งเสริมในช่วงเย็นหลังเลิกเรียน(บางวัน)  

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมพาพี่ๆป.5 คาดคะเนพื้นที่ของทางเดินรอบตึกประถมฯ ก่อนจะให้พี่ๆ ระดมความคิดหาวิธีวัดขนาดของพื้นที่โดยรอบตึกว่าจะวัดได้ขนาดเท่าไร? อาจใช้หน่วยไม่มาตรฐาน เช่น วา คืบ ศอก ฯลฯ
    _ก่อนนำสู่เรื่องที่ให้พี่ๆ นำสิ่งที่ได้มาร่วมพูดคุยกัน และคุณครูช่วยขมวดความเข้าใจผ่าน Google Earth ให้พี่ๆเห็นแบบจำลองจากมุมสูง(ภาพถ่ายดาวเทียม)
    ...เรื่อง ‘พื้นที่’ ป.5 เรียนมาบ้างในช่วงที่เรียนอยู่ชั้น ป.4 และผมสอบถามความเข้าใจผ่านตัวอย่างโจทย์หลายข้อ ทราบว่าพี่ๆ หลายคนมีความเข้าใจพื้นฐานการหาพื้นที่เป็นอย่างดี และอีกหลายคนต้องส่งเสริม
    และกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ พี่ๆป.5 จะได้ทำภาระงานจากหนังสือ Super Math ในส่วนพี่ๆที่เรียนรู้เร็วจะได้ใบงาน(พิเศษ) นำกลับไปทำต่อที่บ้าน อีกกลุ่มที่เรียนรู้ช้าครูจะนัดส่งเสริมในช่วงเย็นหลังเลิกเรียน(บางวัน)

    ตอบลบ