เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Main

"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"


เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น

วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย

Mind mapping (สาระการเรียนรู้)
- ครู

หน่วย : คณิตคิดสนุก 1
ภูมิหลัง : คณิตศาสตร์ในระดับชั้น ป.5 ปีนี้ เริ่มต้นในQuarter 1/59 นี้ เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้วยเรื่องทบทวนทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ โดยไล่เรียงผ่านเกมการคิด กิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อที่หลากหลาย คำถามกระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อที่ครูผู้สอนจะได้ทราบถึงฐานความรู้เดิมของผู้เรียนแต่ละคน (Met before) ซึ่งจำเป็นมา ต่อมาจึงให้พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเศษส่วนกับทศนิยม การดำเนินการระหว่างเศษส่วน/ทศนิยมกับจำนวนเต็ม และในหนึ่งสัปดาห์คุณครูจะได้ร่วมทำLesson study ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้น ป.5 Quarterนี้

เป้าหมายความเข้าใจ : เพื่อปูพื้นฐานเรียนเศษส่วนและทศนิยมที่มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นให้กับผู้เรียน และเพื่อฝึกการพัฒนาสมองของผู้เรียนผ่านกิจกรรมฝึกทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ปฏิทินการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้น ป.5 Quarter 2 ปีการศึกษา 2559

Week
Input
Process
Output
Outcome












1
โจทย์
ทบทบกิจกรรม
-ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
คำถาม
นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องใดบ้างในรายวิชาคณิตฯ และเรื่องใดบ้างที่พี่ๆสนใจอยากเรียนรู้
- เรื่องใดบ้างพี่ๆ อยากทำความเข้าใจเพิ่มเติมในการเรียนรู้ในQuarterนี้

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ไม้ขีด
ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด “ให้นักเรียนหาคำตอบจากโจทย์มุมทแยง
- นักเรียนร่วมเลนเกม พร้อมนำเสนอวิธีคิด
*เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องใดบ้างในรายวิชาคณิตฯ และเรื่องใดบ้างที่พี่ๆสนใจอยากเรียนรู้ ”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “เรื่องใดบ้างพี่ๆ อยากทำความเข้าใจเพิ่มเติมในการเรียนรู้ในQuarterนี้”
*นักเรียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ ในQ.2/59
ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกมมุมทแยง
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใคร่ครวญกับสิ่งที่แต่ละคนอยากเรียนรู้เพิ่มเติม
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นคุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
........................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












2
โจทย์
พื้นที่
- ทบทวนพื้นที่
- การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

คำถาม
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking

- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
- ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้

กระบวนการ : ทบทวนพื้นที่
 ครูนำรูปร่างเรขาคณิต (ดังภาพ) มาให้นักเรียนสังเกต  เพื่อทบทวนความเข้าใจ

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาพื้นที่ของรูปเหล่านี้ โดยวัดความยาวของด้าน
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอวิธีคิด

กระบวนการ : พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
 - ครูนำรูปรูปสี่เหลี่ยม a, b, c มาให้นักเรียนสังเกต
คำถาม
*จงวัดความยาวของแต่ละด้านของรูปสี่เหลี่ยม a, b, c
*จงเปรียบเทียบรูปสี่เหลี่ยม a, b, c
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?”
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
* สมมติวิธีคิดของนักเรียน 2 คน ดังนี้ (ครูใช้คำถาม / อำนวยกิจกรรม)
- ครูให้นักเรียนตรวจสอบความยาวที่จำเป็นต้องใช้ในการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน c หลังจากนั้นคำนวณหาพื้นที่
- ความยาวใดที่จำเป็นในการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม a, b, และ c
*ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง

กระบวนการ : พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน- ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานต่อไปนี้ มีวิธีคิดอย่างไร
*ครูให้นักเรียนคิดโจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น
-ให้นักเรียนลองคิดหาหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปนี้โดยใช้ BC เป็นฐาน

- ให้นักเรียนอธิบายวิธีการคำนวณพื้นที่โดยพิจารณารูปด้านล่างนี้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปนี้มีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร

- ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
ให้นักเรียนหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานต่อไปนี้ มีวิธีคิดอย่างไร

- นักเรียนร่วมนำเสนอวิธีคิด พร้อมเหตุผลในการคิดคำนวณ

ถ้าฐานและความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 2 รูปใดๆ มีความยาวเท่ากันแล้ว จะได้ว่าพื้นที่ของรูปทั้งสองเท่ากัน
*โจทย์ท้าทายชวนคิด
หากเราต้องการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปหนึ่งที่มีพื้นที่ 48 ตร.ซม.
และมีความสูง
8 ซม. เราควรจะสร้างฐานยาวกี่ ซม.
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
- นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจก่อนการเรียนรู้คณิต Q.2
ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกม108IQ , เกม 24
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจและสามารถหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และคาดคะเนค่าใกล้
เคียงได้ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและฟังก์ชันตัวชี้วัด ป.5/2 , ป.5/3
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
................................................................


Week
Input
Process
Output
Outcome












3
โจทย์
ความสัมพันธ์ของช่วงเวลาต่างๆ กับจำนวนตัวเลขที่มีหลายระดับ

คำถาม
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking

- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์ปริศนาคำทายจากตัวเลข
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้
กระบวนการ ทบทวนช่วงเวลา
ครูพานักเรียนเล่นเกม บัตรช่วงเวลา โดยครูแจกบัตรให้นักเรียนทุกคน
- ครูใช้คำถาม นักเรียนจะแยกและจัดหมวดหมู่ช่วงเวลาต่างๆ อย่างไร?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น

กระบวนการ
 แบ่งขนาดของช่วงเวลา
- ครูพานักเรียนทบทวนขนาดของช่วงเวลาต่างๆ
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ถ้า 1 แท่ง เท่ากับ 1 ชั่วโมง เราจะแบ่งขนาดของช่วงเวลาใน 1 ชั่วโมง ได้อย่างไรบ้าง?
 - นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 - ครูกำหนดโจทย์ และให้นักเรียนแสดงการแบ่งขนาดของช่วงเวลาต่างๆ ดังนี้
       ครึ่งชั่วโมง 2 ชั่วโมงครึ่ง 1 ชั่วโมง 40 นาที

- ครูพูดคุยเกี่ยวกับวิถีของโรงเรียนใน 1 วัน  โดยใช้คำถามกระตุ้นคิด ใน 1 วัน นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง และแต่ละกิจกรรมแบ่งช่วงเวลาออกเป็นอย่างไร?”
 - ครูขออาสานักเรียน 3 คน ออกมาเขียนช่วงเวลาที่ตัวเองชอบเป็นตัวเลข พร้อมบอกเหตุผล
 - ครูให้นักเรียนอาสาออกมาวาดแผนภาพแบ่งขนาดของช่วงเวลาที่เพื่อนกำหนดไว้บนกระดาน
- ครูใช้คำถาม ใครมีวิธีคิดในการแบ่งขนาดของช่วงเวลา ที่ต่างจากเพื่อนออกมาแสดงการแบ่งครั้งแรก
 - ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความเข้าใจในการวาดแผนภาพแบ่งขนาดของช่วงเวลา
 - นักเรียนทำใบงานการแบ่งขนาดของช่วงเวลาผ่านแผนภาพ

กระบวนการ เปรียบเทียบขนาดเวลากับจำนวน
ครูทบทวนเกี่ยวกับขนาดของช่วงเวลาผ่านภาพ
ครูให้โจทย์คำถาม
1)“ถ้านักเรียนมีเสื้อจำนวน 60 ตัว ขายหมดภายในเวลา 1 ชั่วโมง นักเรียนจะแบ่งช่วงเวลาในการจำหน่ายเสื้ออย่างไร และแต่ละช่วงขายเสื้อได้จำนวนกี่ตัว?”
2)“ถ้านักเรียนมีเสื้อจำนวน 60 ตัว ขายหมดภายในเวลา ชั่วโมง โดยแต่ละช่วงเวลาต้องขายให้ได้จำนวนเท่าๆกัน ?”
*ครูทบทวนผ่านตัวอย่าง -เทียบจำนวนกับขนาดของเวลา

กระบวนการ ขายเครื่องดื่ม
- ครูขออาสกนักเรียน 4 คน ร่วมแสดงสถานการณ์จำลองผ่านการขายเครื่องดื่มโดยสวมเสื้อสีต่างๆ ดังนี้

- นักเรียนที่อาสานำข้อมูลที่ตัวเองได้ ไปติดในตาราง ตามลำดับเหตุการณ์ที่ครูเล่าเรื่องการขายเครื่องดื่ม
 - แบ่งกลุ่มนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล จากตารางและจัดอันดับการขายเครื่องดื่ม
 - นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูล
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางและตอบคำถาม จากชุดคำถามที่กำหนดให้
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมอภิปรายและนำเสนอคำตอบ
ครูกำหนดตารางที่ 1

คำถาม
 - จากช่วงเวลาที่กำหนดให้ นักเรียนคิดว่าใครจะมีโอกาสขายได้มากที่สุด น้อยที่สุด เท่ากัน หรือขายไม่ได้เลย เพราะเหตุใด?
- คนขายแต่ละคนใช้เวลาในการขายเท่าไรใครใช้ระยะเวลาการขายมากที่สุด และน้อยที่สุด

ครูกำหนดตารางที่ 2

คำถาม
 - คนขายแต่ละคนขายได้คนละกี่แก้ว
หากเทียบการขายภายในช่วงเวลา 30 นาที คนขายแต่ละคนจะขายได้คนละกี่แก้ว
 - นักเรียนจะจัดอันดับการขายเมื่อเทียบกับช่วงเวลาและจำนวนแก้วได้อย่างไร

ครูกำหนดตารางที่ 3

ภาพแสดงการขาย(จำนวนแก้ว)เมื่อเทียบกับ 30 นาที

คำถาม
- คนขายแต่ละคนใส่เสื้อสีอะไรบ้าง?
- ใครมาขายก่อนเป็นคนแรก สวมเสื้อสีอะไรขายเวลาไหนและขายได้จำนวนเท่าไร?
- คนขายคนที่ 1-4 มีช่วงเวลาขายคนละกี่ชั่วโมง?
- ใครใช้ช่วงเวลาขายมากที่สุดและน้อยที่สุด ระยะเวลาห่างกันเท่าไร?
- คนขายเสื้อสีเขียว มีระยะเวลาในการขายแตกต่างจากคนขายเสื้อสีแดงเท่าไร?
- คนขายเสื้อสีเขียวขายได้กี่เท่าของคนขายเสื้อสีส้ม ภายในช่วงเวลา 30 นาที?
- คนขายเสื้อสีแดงจะต้องขายเพิ่มอีกกี่แก้วจึงจะขายได้เท่ากับคนขายเสื้อสีเขียว?

กระบวนการ ออกแบบกิจกรรม
- ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวกับ
 -ความสัมพันธ์ของช่วงเวลาต่างๆ ตามความสนใจของตนเอง
 - นักเรียนแต่ละกลุ่มตั้งคำถามประกอบตารางข้อมูล เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของช่วงเวลา กลุ่มละ 5 คำถาม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนชุดคำถาม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอคำตอบ
- นักเรียนทั้งหมดสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

*นักเรียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ ในQ.2/59
ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกม108IQ , เกม 24
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด 
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของช่วงเวลาต่างๆ กับจำนวนตัวเลขที่มีหลายระดับได้อย่างมีเหตุผล นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 1.3 เข้าใจระบบจำนวนและใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน   ตัวชี้วัด ป.5/1 , ป.5/2
มาตรฐาน 2.2
เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด   ตัวชี้วัด ป.5/3
มาตรฐาน 3.2 เข้าใจเรขาคณิต และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.5/3
มาตรฐาน 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์  (mathematical  model)  อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.5/1 , ป.5/2
มาตรฐาน 5.2 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล   ตัวชี้วัด ป.5/1
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
................................................................
Week
Input
Process
Output
Outcome












4
โจทย์
พื้นที่
- พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม

คำถาม
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
- ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์ 108IQ , เกม 24
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้

กระบวนการ : พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม
- ครูนำรูปรูปสามเหลี่ยม(ดังภาพ) มาให้นักเรียนสังเกต

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมนี้อย่างไร
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ


- ครูให้นักเรียนสังเกตว่าความยาวส่วนใดที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้ในการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมต่อไปนี้ จากนั้นคำนวณหาพื้นที่

- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
*ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง

- ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
ให้นักเรียนหาหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมเหล่านี้ โดยการวัดความยาวด้านที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณ มีวิธีคิดอย่างไร
*โจทย์ใหม่ที่ท้าทายยิ่งขึ้น


- ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด จากภาพ ให้นักเรียนหาพื้นที่ของ
รูปสามเหลี่ยมรูปนี้โดยมีด้าน BC เป็นฐาน มีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร
มีวิธีคิดอย่างไร
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่มีฐานยาว 8 เซนติเมตร และความสูง 10 เซนติเมตร โดยใช้วิธีการหาพื้นที่ จากนั้นเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ในจากวิธคิดข้อที่ผ่านมา

*ครูให้นักเรียนคิดโจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น

- จากรูปด้านล่าง ให้เส้นตรงAB ขนานกับเส้นตรงCD “จงหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม

- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
ถ้าฐานและความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 2 รูปใดๆ มีความยาวเท่ากันแล้ว จะได้ว่าพื้นที่ของรูปทั้งสองเท่ากัน

ครูให้นักเรียนดูสามเหลี่ยมมุมฉาก  ต่อไปนี้

คำถาม
“ให้นักเรียนคำนวณหาพื้นที่ และให้หาความสูงของรูปสามเหลี่ยม “
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอเหตุผล

*ครูให้นักเรียนคิดโจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถคาดคะเน หาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและฟังก์ชันตัวชี้วัด ป.5/2 , ป.5/3
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
................................................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












5
โจทย์
พื้นที่
- วิธีการหาพื้นที่ของรูปต่างๆ
- ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่

คำถาม
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสามเหลี่ยมอย่างไร
?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
- ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์ 108IQ , เกม 24
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้

กระบวนการ : วิธีการหาพื้นที่ของรูปต่างๆ
- ครูนำรูปรูปสี่เหลี่ยม(ดังภาพ) มาให้นักเรียนสังเกต
*แบ่งรูปให้เป็นรูปร่างที่สามารถคำนวณหาพื้นที่ได้
*วัดความยาวของด้านที่จำเป็นในการคำนวณหาพื้นที่  

- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ  แล้วครูช่วยขมวดความเข้าใจให้กับผู้เรียน

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนวัดความยาวที่จำเป็นใช้และคำนวณหาพื้นที่ ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีวิธีคิดอย่างไร

- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิด

กระบวนการ : ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่
- ครูกำหนดรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปหนึ่งมาให้นักเรียนสังเกต แล้วใช้คำถามกระตุ้นคิด “มีรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานจำนวนหนึ่งมีรูปร่างเหมือนกัน โดยมีฐาน 3 เซนติเมตร และความสูง 5 เซนติเมตร เราจะสร้างสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ใหญ่ขึ้นโดยการต่อรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน” ดังแสดงด้านล่าง

- นักเรียนเขียนแนวคิดที่ใช้ในการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสีเหลี่ยมด้านขนาน

*จากนั้นหาส่วนประกอบ 2 ส่วน ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับขนาดของพื้นที่และอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง

- ให้นักเรียนเติมตัวเลขลงในตาราง ด้านล่าง

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “-นักเรียนคิดว่าพื้นที่จะเพิ่มขึ้นกี่เท่า เมื่อฐานยาวขึ้นเป็น 2 เท่า และสามเท่า ตามลำดับ
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิด

*ครูให้นักเรียนคิดโจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจและสามารถแสดงวิธีการหาพื้นที่ของรูปต่างๆ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่ และ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและฟังก์ชันตัวชี้วัด ป.5/2 , ป.5/3
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
................................................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












6
โจทย์
อัตราส่วน

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
กระบวนการ : อัตราส่วน
- สมมติสถานการณ์ (การเล่นบาสเกตบอล 3 เกม) ดังนี้
"พวกเราเล่นบาส ตารางด้านล่างนี้แสดงบันทึกการโยนลูกบาสเกตบอลเข้าห่วงของพี่อาม ในการเล่นบาสเกตบอล 3 เกม"

คำถาม "เกมใดที่พี่อามเล่นได้ดี"
*เปรียบเทียบผลการโยนบาสเกตบอลและสนทนากับเพื่อนๆ
เกี่ยวกับแนวคิดของตนเอง

ตารางแสดงบันทึกจำนวนการโยนบาส

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนบันทึกการโยนบาสในวันที่ 10ก.พ และ 15ก.พในรูปของเศษส่วน โดยตัวส่วนเป็นจำนวนครั้งในการโยนและตัวเศษเป็นจำนวนครั้งที่โยนเข้าห่วง จากนั้นเปรียบเทียบเศษส่วนนั้น"
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดคิด นำเสนอวิธีคิด

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนแสดงบันทึกการโยนบาส
ในวันที่ 13ก.พ ให้อยู่ในรูปจำนวน"

-นักเรียนร่วมแสดงความคิดคิด นำเสนอวิธีคิด

ครูช่วยขมวดความเข้าใจ ยกตัวอย่าง "ถ้าเราสร้างจำนวนครั้งที่โยน
ทั้งหมดแล้วจำนวนครั้งที่โยนเข้าห่วงจะเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนทั้งหมด"
- ตารางต่อไปนี้แสดงบันทึกการโยนลูกบาสของพี่มิสซ์ ให้นักเรียนแสดง
การบันทึกในรูปของจำนวน


(บันทึกการโยนเป็นจำนวนระหว่าง 0 และ 1)

- นักเรียนจำนวนหนึ่งได้ตรวจสอบจำนวนผู้โดยสารบนเครื่องบินในหนึ่งวัน เครื่องบินในหนึ่งวัน เครื่องบินลำใดมีผู้โดยสารแออัดมากกว่ากัน

*ระดับความแออัดแสดงในรูปของจำนวน ที่เป็นการเปรียบเทียบจำนวนผู้โดยสาร
กับจำนวนที่นั่ง เป็นการทำจำนวนที่นั่งให้เป็น 1

** พาเด็ก ไปให้ถึง ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง

   
ระดับความแออัดของเครื่องบินลำเล็ก คือ 117/130 =0.9
ระดับความแออัด 0.9 หมายความว่า จำนวนของผู้โดยสารคือ 0.9 คน
เมื่อเทียบกับที่นั่งทั้งหมดเป็น 1

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(1) "ให้นักเรียนแสดงความหนาแน่น
ของเครื่องบินใหญ่ โดยระบายสีลงบนกราฟด้านล่าง"

-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ
*ครูให้โจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น

--อัตราส่วนของปริมาณ 2 ปริมาณ--
"เราสามารถอธิบายอัตราส่วนของปริมาณ 2 ปริมาณได้แม้ว่าปริมาณใด
ปริมาณหนึ่งไม่สามาร"
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(2) "ในห้องเรียนของพี่แตงโม มีเด็กผู้ชาย 16 คน และเด็กผู้หญิง 20 คน จงหาอัตราส่วนของจำนวนเด็กผู้ชายต่อเด็กผู้หญิง"

-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(3) "จากห้องเรียนของพี่แตงโม ในคำถาม(3) จงหาอัตราส่วน จำนวนเด็กผู้หญิงต่อจำนวนเด็กผู้ชาย"

-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ
"อัตราส่วนจะเปลี่ยนแปลงถ้าเราเปลี่ยนปริมาณพื้นฐาน
ในบางกรณีอัตราส่วนมากกว่า 1"
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับอัตราส่วน
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและฟังก์ชันตัวชี้วัด ป.5/2 , ป.5/3
มาตรฐาน  5.2  เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลตัวชี้วัด ป.5/1
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
................................................................
................................................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












7-8
โจทย์
อัตราส่วน
-ร้อยละ
-
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
กระบวนการ : ร้อยละ
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(1) "มีผู้โดยสารจำนวน 40คน
รสบัสที่มีจำนวน 50 ที่นั่ง"

*จงหาระดับของความแออัดของคนบนรถบัส

*เปลี่ยนอัตราส่วนนี้ โดยการทำปริมาณพื้นฐานให้เป็น 100
-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ
* ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง

   
*ถ้าเราคูณอัตราส่วนที่อยู่ในรูปทศนิยมด้วย 100 อัตราส่วนนั้น
จะกลายเป็นร้อยละ จงแสดงระดับของความแออัดของคนที่อยู่
บนรถบัสให้อยู่ในรูปร้อยละ


- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "พี่ชมพู่และเพื่อนๆ บันทึกจำนวนที่วิ่งผ่านถนนหน้าโรงเรียนของพวกเขา ในเวลา 20 นาที"

*จงแสดงอัตราส่วนของจำนวนรถ
แต่ละประเภทต่อจำนวนรถทั้งหมด
*ผลรวมของร้อยละของรถแต่ละประเภทเท่าไร
โจทย์ชวนคิด


--อัตราส่วนที่่มากกว่า 100%--
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(2) "รถไฟหนึ่งโบกี้บรรจุผู้โดยสารได้ 120 คน
จงคำนวณระดับความแออัดของคนที่อยู่บนรถไฟให้อยู่ในรูปร้อยละ"

-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ

“เมื่อจำนวนผู้โดยสารมากกว่าจำนวนที่จุผู้โดยสารได้ค่าร้อยละจะมากกว่า 100%

ลองมองสิ่งต่างๆ ที่แสดงในรูปร้อยละ
คำถาม
-"ณ ร้านค้าแห่งหนึ่ง กระเป๋าถือมีราคาเดิมที่ตั้งไว้คือ 6500บาท
ร้านค้าขายไปในราคา 5200บาท ราคาขายต่อราคาเดิมที่ตั้งไว้
คิดเป็นร้อยละเท่าใด"
-"ตารางด้านล่าง แสดงจำนวนผู้โดยสารรถบัสในเวลาต่างๆของวันหนึ่ง"

จากตาราง....คำถาม
1.จงแสดงระดับของความแออัดของผู้โดยสารในเวลาต่างๆ
2.ณ เวลาใดที่มีระดับของความแออัดมากที่สุด
-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ

กระบวนการ : โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(3) "ร้านขายเสื้อผ้าแห่งหนึ่งใกล้บ้านของพี่เบียร์ได้ลดราคาเสื้อ"
1.แม่ของพี่เบียร์ซื้อเสื้อเซิ้ตที่ลดราคา20% จาราคาเดิม 1500บาท

2.ถ้าราคาเดิมของเสื้อเซิ้ตคือ 1500บาท แล้วแม่ของพี่เบียร์จะต้องจ่ายเงินเท่าไร ให้คำนวณหาคำตอบโดยวิธีการคิดของนักเรียน 2 คน ต่อไปนี้
-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด  พร้อมนำเสนอ

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพื้นที่

ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ปรับประยุกต์ใช้ได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 2.2 เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด   ตัวชี้วัด ป.5/3
มาตรฐาน 3.2 เข้าใจเรขาคณิต และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.5/3
มาตรฐาน 5.2 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล   ตัวชี้วัด ป.5/1
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
................................................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












9
โจทย์
สรุปองค์ความรู้คณิต (หลังเรียน) ระดับชั้น ป.5 Quarter 2/59

คำถาม
- นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าตนเองได้เรียนรู้และมีความเข้าใจอะไรในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับ Quarter 2

เครื่องมือคิด
- Show and Share
- Wall thinking

- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศการเรียนรู้คณิต
- ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์ปริศนาคำทายจากตัวเลข
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้

- ครูใช้คำถามกระตุ้นด้วยคำถาม
นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างไร
นักเรียนคิดว่าตนเองได้เรียนรู้และมีความเข้าใจอะไรในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับ Quarter 2
- นักเรียนและครูร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกันจัดนิทรรศการการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชื่อมโยงของวิชาคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน และร่วมจัดนิทรรศการถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ สรุปองค์ความรู้คณิต (หลังเรียน)
ระดับชั้น ป.ถ
Quarter 2/59

ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกมปริศนาคำทายจากตัวเลข
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วยต่างๆที่เรียนมา และสรุปองค์ความรู้ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 1.3 เข้าใจระบบจำนวนและใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน   ตัวชี้วัด ป.5/1 , ป.5/2
มาตรฐาน 2.2
เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด   ตัวชี้วัด ป.5/3
มาตรฐาน 3.2 เข้าใจเรขาคณิต และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.5/3
มาตรฐาน 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์  (mathematical  model)  อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.5/1 , ป.5/2
มาตรฐาน 5.2 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล   ตัวชี้วัด ป.5/1
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
................................................................